น้ำมันเติมเกจวัดแรงดัน บรรจุขนาด 1 กิโลกรัม

คุณสมบัติสินค้า:

Pneumatic Oil น้ำมันเติมเกจ กลีเซอรีน(Glycerine)PNEUMATIC OIL กลีเซอรีน(Glycerine) ประโยชน์หรือข้อดีจากการเติมน้ำมันเข้าไปPressure gauge นั้นความหนืดของน้ำมันจะช่วยดูดซับแรงดันกระชากจากของเหลวหรืออากาศที่เราวัด shock pressure จะส่งผลให้อุปกรณ์ด้านใน (Moving Parts) เกิดความเสียหาย ขณะวัดเข็มจะค่อยๆขยับขึ้นอย่างช้าๆไม่กระชาก ป้องกันการสั่นสะเทือนจากภายนอก เช่นการติดตั้ง pressure gauge บนเครื่องจักรที่ทำงานและสั่นตลอดวลา และช่วยยืดอายุ Moving Parts ไม่ให้เสียหาย

แบรนด์ : PNEUMATIC OIL

Share


Pressure Gauge OIL
(glycerol -water mixtures or silicone oils) 
          คือน้ำมันสำหรับเติมเกจวัดความดัน เป็นของเหลวไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีความหนืดโดยได้มาจากกรรมวิธีการผลิตน้ำมันจากพืช/ผักเช่นจากปาล์ม เป็นต้น สามารถละลายได้ในน้ำและแอลกอฮอล์ และเป็นสารที่ไม่มีพิษ (glycerine filled pressure gauge)


ประโยชน์จากการเติม Gauge OIL ใน Pressure gauge

1. ความหนืดของ Gauge OIL จะช่วยดูดซับแรงดันกระชากจากของเหลวหรืออากาศที่เราวัด(shock pressure) ที่จะส่งผลให้อุปกรณ์ด้านใน (Moving Parts) เกิดความเสียหาย ขณะวัดเข็มจะค่อยๆขยับขึ้นอย่างช้าๆไม่กระชาก
2. ประโยชน์ของความหนืดใน Gauge OIL ที่สำคัญอีกอย่างคือ ป้องกันการสั่นสะเทือนจากภายนอก เช่นการติดตั้ง pressure gauge บนเครื่องจักรที่ทำงานและสั่นตลอดวลา และช่วยยืดอายุ Moving Parts ไม่ให้เสียหาย
3. Gauge OIL ช่วยหล่อลื่นชิ้นส่วนภายใน pressure gauge ยืดอายุชิ้นส่วนต่างๆให้ใช้งานได้อย่างยาวนาน
4. Gauge OIL ช่วยให้ pressure gauge ทำงานได้แม้ในสถานที่ ที่มีอากาศเย็นจัด very low temperatures (< -20 °C) เช่นในประเทศที่มีอากาศติดลบ(ขึ้นอยู่กับประเภทของและชนิดของเกจนั้นๆ ด้วย)
5. Gauge OIL ช่วยลดการเกิดหน้ากระจกเป็นฝ้า(frosted glass) จากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว
6. Gauge OIL ช่วยลดฟองอากาศที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ
7. Gauge OIL ช่วยลดความชื้นเกิดขึ้นภายในเกจวัดความดันได้เป็นอย่างดี

 

 

วิธีการอ่านค่า เกจวัดความดันที่ถูกต้อง

1. ผู้สังเกตหรือผู้อ่านค่าแรงดัน ต้องมองเป็นแนวตรงกับหน้าปัด เพรสเชอร์เกจ เพื่อลดความผิดพลาดในการอ่าน
2. ผู้สังเกตหรือผู้อ่านค่าแรงดัน ต้องรอจนกว่า เข็นจะหยุดสนิท จึงจะบันทึกค่าที่ได้
3. ต้องสังเกตหน่วยวัดความดันทุกครั้ง ก่อนอ่านค่าสเกล เช่นเพรสเชอร์เกจ ที่เราสังเกตมีหน่วยเป็นอะไรเช่น ที่นิยมใช้และเจอบ่อยๆจะมี

Bar บาร์ (ระบบ SI)
Kgf/cm2 กิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร(ระบบแมติก) คนไทยเรานิยมเรียกว่า กิโล เฉยๆครับ
PSI ปอนด์ต่อตารางนิ้ว(ระบบอังกฤษ)
mg มิลลิเมตรปรอท
mm2o มิลลิเมตรน้ำ
pa ( Pascal ระบบแมติก)ส่วนใหญ่จะพบเป็น kpa หรือ mpa เป็นต้น


4. เพรสเชอร์เกจบางรุ่นหรือบางยี้ห้อ อาจจะมีย่านวัดซ้อนกันสอง Rangให้เลือกอ่านค่าย่านใดย่านหนึ่งได้

ข้อควรระวังในการใช้งาน เพรสเชอร์เกจ หรือ เกจวัดแรงดัน

1. ต้องมีการตรวจสอบประสิทธิภาพ ของเพรสเชอร์เกจ หรือ เกจวัดแรงดัน ว่ายังคงวัดค่าความดันได้อย่างถูกต้องหรือไม่เป็น ควรทำประจำทุก 3/6/12 เดือน(ทั้งนี้ขึ้นอยุ่กับลักษณะงานที่ทำการวัดค่าด้วย)
2. ในกรณีของ เกจแบบมีน้ำมัน ควรถอดจุดเติมน้ำมันในครั้งแรกก่อนการใช้งานออกก่อน เพื่อระบายความดันภายในเพื่อประสิทธิภาพในการวัดค่าความดันอย่างเที่ยงตรง
3. เมื่อ OILภายในเกจ เริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขุ่นแสดงว่า ประสิทธิภาพของน้ำมันลดลง ทำการเปลี่ยนน้ำมันได้โดย นำเกจมาถอดจุกยางเอา และเทน้ำมัน Gauge OIL เดิมทิ้งและทำการเติม Gauge OIL เข้าไปใหม่(วิธีการเติมน้ำมันเกจนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของและชนิดของเกจนั้น ด้วย)
4. หลีกเลี่ยงการติดตั้งบริเวณที่มีการสั่นตลอดเวลา
5. หลีกเลี่ยงการติดตั้งบริเวณที่มีความร้อนสูงมากๆ และความชื้นสูงมากๆ เช่นบริเวณกลางแจ้ง โดนแดดและโดนฝนเป็นประจำ
6. ห้ามทำหล่น ตก กระแทก เด็ดขาดเพราะจะทำให้เกจวัดแรงดัน เกิดความเสียหายทันที
7. ห้าม เพรสเชอร์เกจ หรือ เกจวัดแรงดัน ที่มีย่านวัดแรงดันน้อยกว่าไปวัดแรงดันสูงกว่าเช่น เกจวัดความดันมีย่านวัดอยุ่ที่ 0-10BAR (145Psi) นำไปวัดแรงดัน 0-40BAR (580psi)เป็นต้น

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้