 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
8
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
203
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
1,948,696
|
เปิดเว็บ
|
24/02/2554
|
|
|
|
|
น้ำมันเติมเกจ เกจวัดแรงดัน
|
.png) |
บรรจุขนาด 1 ลิตร ราคา 240 บาท |
Pressure Gauge OIL
(glycerol -water mixtures or silicone oils)
คือน้ำมันสำหรับเติมเกจวัดความดัน เป็นของเหลวไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีความหนืดโดยได้มาจากกรรมวิธีการผลิตน้ำมันจากพืช/ผักเช่นจากปาล์ม เป็นต้น สามารถละลายได้ในน้ำและแอลกอฮอล์ และเป็นสารที่ไม่มีพิษ (glycerine filled pressure gauge)
ประโยชน์จากการเติม Gauge OIL ใน Pressure gauge
- ความหนืดของ Gauge OIL จะช่วยดูดซับแรงดันกระชากจากของเหลวหรืออากาศที่เราวัด(shock pressure) ที่จะส่งผลให้อุปกรณ์ด้านใน (Moving Parts) เกิดความเสียหาย ขณะวัดเข็มจะค่อยๆขยับขึ้นอย่างช้าๆไม่กระชาก
- ประโยชน์ของความหนืดใน Gauge OIL ที่สำคัญอีกอย่างคือ ป้องกันการสั่นสะเทือนจากภายนอก เช่นการติดตั้ง pressure gauge บนเครื่องจักรที่ทำงานและสั่นตลอดวลา และช่วยยืดอายุ Moving Parts ไม่ให้เสียหาย
- Gauge OIL ช่วยหล่อลื่นชิ้นส่วนภายใน pressure gauge ยืดอายุชิ้นส่วนต่างๆให้ใช้งานได้อย่างยาวนาน
- Gauge OIL ช่วยให้ pressure gauge ทำงานได้แม้ในสถานที่ ที่มีอากาศเย็นจัด very low temperatures (< -20 °C) เช่นในประเทศที่มีอากาศติดลบ(ขึ้นอยู่กับประเภทของและชนิดของเกจนั้นๆ ด้วย)
- Gauge OIL ช่วยลดการเกิดหน้ากระจกเป็นฝ้า(frosted glass) จากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว
- Gauge OIL ช่วยลดฟองอากาศที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ
- Gauge OIL ช่วยลดความชื้นเกิดขึ้นภายในเกจได้เป็นอย่างดี
วิธีการอ่านค่า เกจวัดความดันที่ถูกต้อง
- ผู้สังเกต หรือผู้อ่านค่าแรงดันต้องมองเป็นแนวตรงกับหน้าปัด เพรสเชอร์เกจ เพื่อลดความผิดพลาดในการอ่าน
- ผู้สังเกต หรือผู้อ่านค่าแรงดัน ต้องรอจนกว่า เข็นจะหยุดสนิท จึงจะบันทึกค่าที่ได้
- ต้องสังเกตหน่วยวัดความดันทุกครั้ง ก่อนอ่านค่าสเกล เช่นเพรสเชอร์เกจ ที่เราสังเกตมีหน่วยเป็นอะไรเช่น ที่นิยมใช้และเจอบ่อยๆจะมี 1.Bar บาร์ (ระบบ SI) 2.Kgf/cm2 กิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร(ระบบแมติก) คนไทยเรานิยมเรียกว่า กิโล เฉยๆครับ 3.PSI ปอนด์ต่อตารางนิ้ว(ระบบอังกฤษ) 4.mmg มิลลิเมตรปรอท 5.mmH2o มิลลิเมตรน้ำ 6.pa ( pascal ระบบแมติก)ส่วนใหญ่จะพบเป็น kpa หรือ mpa เป็นต้น
- เพรสเชอร์เกจบางรุ่นหรือบางยี้ห้อ อาจจะมีย่านวัดซ้อนกันสอง Rangให้เลือกอ่านค่าย่านใดย่านหนึ่งได้
ข้อควรระวังในการใช้งาน เพรสเชอร์เกจ หรือ เกจวัดแรงดัน
- ต้องมีการตรวจสอบประสิทธิภาพ ของเพรสเชอร์เกจ หรือ เกจวัดแรงดัน ว่ายังคงวัดค่าความดันได้อย่างถูกต้องหรือไม่เป็น ควรทำประจำทุก 3/6/12 เดือน(ทั้งนี้ขึ้นอยุ่กับลักษณะงานที่ทำการวัดค่าด้วย)
- ในกรณีของ เกจแบบมีน้ำมัน ควรถอดจุดเติมน้ำมันในครั้งแรกก่อนการใช้งานออกก่อน เพื่อระบายความดันภายในเพื่อประสิทธิภาพในการวัดค่าความดันอย่างเที่ยงตรง
- เมื่อ OILภายในเกจ เริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขุ่นแสดงว่า ประสิทธิภาพของน้ำมันลดลง ทำการเปลี่ยนน้ำมันได้โดย นำเกจมาถอดจุกยางเอา และเทน้ำมัน Gauge OIL เดิมทิ้งและทำการเติม Gauge OIL เข้าไปใหม่(วิธีการเติมน้ำมันเกจนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของและชนิดของเกจนั้น ด้วย)
- หลีกเลี่ยงการติดตั้งบริเวณที่มีการสั่นตลอดเวลา
- หลีกเลี่ยงการติดตั้งบริเวณที่มีความร้อนสูงมากๆ และความชื้นสูงมากๆ เช่นบริเวณกลางแจ้ง โดนแดดและโดนฝนเป็นประจำ
- ห้ามทำหล่น ตก กระแทก เด็ดขาดเพราะจะทำให้เกจวัดแรงดัน เกิดความเสียหายทันที
- ห้าม เพรสเชอร์เกจ หรือ เกจวัดแรงดัน ที่มีย่านวัดแรงดันน้อยกว่าไปวัดแรงดันสูงกว่าเช่น เกจวัดความดันมีย่านวัดอยุ่ที่ 0-10BAR (145Psi) นำไปวัดแรงดัน 0-40BAR (580psi)เป็นต้น
|
|
|
|
|
|